ล่าสุด

10/recent/ticker-posts

แจกเงินเป็นของขวัญปีใหม่ คลังจัดชุดใหญ่ให้ประชาชน 13 โครงการ 2564 ดังนี้

 


รายเอียดออกมาแล้ว ของขวัญปีใหม่ปี 2564 ของกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดชุดใหญ่ให้เลย 13 โครงการ

      ประชาชนอดใจอีกนิดข่าวดีมาแล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เผยข่าวดี ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจภายใต้สังกัดกระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำของขวัญปีใหม่ปี 2564 สำหรับกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ และลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยมีรายละเอียด ดังนี้



1. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารออมสิน
  1. มอบเงินจำนวน 500 บาท ให้กับลูกค้าที่มีประวัติการส่งชำระหนี้ดีไม่น้อยกว่า 3 ปี ไม่มีประวัติการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือเป็นหนี้ NPLs โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 – มกราคม 2564
  2. เพิ่มรางวัลพิเศษของสลากออมสิน Digital “ฉลองปีใหม่ 2564” จำนวน 20 รางวัล รางวัลละ 1 ล้านบาท รวม 20 ล้านบาท สำหรับการออกรางวัลในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2564
2. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  1. โครงการชำระดีมีคืน สำหรับหนี้เงินกู้จัดชั้นปกติ โดยการโอนคืนดอกเบี้ยเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากให้แก่ (1) ลูกค้าเกษตรกรและบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง รายละไม่เกิน 5,000 บาท และ (2) ลูกค้ากลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง รายละไม่เกิน 50,000 บาท
  2. โครงการลดภาระหนี้ สำหรับหนี้เงินกู้ NPLs หรือมีดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 15 เดือน โดยการคืนดอกเบี้ยให้แก่ (1) ลูกค้าเกษตรกรและบุคคลในอัตราร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง และ (2) ลูกค้ากลุ่มบุคคล กลุ่มเกษตร สหกรณ์ นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ในอัตราร้อยละ 10 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง
ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 – 31 มีนาคม 2564 

3. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
  1. กลุ่มที่ 1 ได้รับสิทธิของขวัญปีใหม่ เป็นเงินจำนวน 1,000 บาท สำหรับผู้มีเงินกู้ไม่เกิน 1 ล้านบาท มีประวัติการชำระดี 48 เดือน และชำระเงินค่างวดผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL ในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563
  2. กลุ่มที่ 2 ได้รับสิทธิของขวัญปีใหม่ เป็นเงินจำนวน 500 บาท จำนวนไม่เกิน 100,000 ราย สำหรับลูกค้าที่ไม่เป็นผู้รับสิทธิในกลุ่มที่ 1 มีการสมัครใช้งานแอปพลิเคชัน GHB ALL และผูกบัญชีเงินฝากในเดือนสิงหาคม – กันยายน 2563 และชำระเงินค่างวดผ่านแอปพลิเคชัน GHB ALL ในเดือนกันยายน – ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ ธอส. จะดำเนินการโอนเงินตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2563 – 4 มกราคม 2564

4. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)
  1. เสริมสภาพคล่อง SMEs ไทย โดยลดค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ (Front End Fee) ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนดสำหรับโครงการสินเชื่อจำนวน 3 โครงการ ได้แก่
    • (1) โครงการสินเชื่อเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน(Local Economy Loan)
    • (2) โครงการสินเชื่อ Smart SMEs และ
    • (3) โครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง SME D Happy แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ยื่นขอสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2564
  2. โครงการ “จ่ายดี มีเติม” สำหรับลูกค้าเดิมที่มีวงเงินสินเชื่อประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา (Term Loan) และมีประวัติชำระหนี้ดีจนถึง 31 ธันวาคม 2563 ธพว. จะเติมทุน เพื่อเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมสูงสุดเท่ากับวงเงินสินเชื่อเดิม ทั้งนี้ เมื่อรวมกับวงเงินสินเชื่อเดิมจะต้องไม่เกินวงเงินสูงสุด 15 ล้านบาท

5. โครงการของขวัญปีใหม่ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
  1. ช่วยจัดสรรการผ่อนชำระ สำหรับลูกหนี้ค่าประกันชดเชยขออนุมัติประนอมหนี้ครั้งแรก ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยผ่อนชำระค่างวด ปีที่ 1 - 2 มากกว่าร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยประจำเดือน และปีที่ 3 - 5 มากกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยประจำเดือน
  2. ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย สำหรับลูกหนี้ประกันชดเชยที่มีศักยภาพ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 โดยผ่อนชำระค่างวดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของดอ กเบี้ยปกติ (ผ่อนชำระภายใน 5 ปี)
  3. ช่วยลดค่างวดผ่อนชำระ สำหรับลูกหนี้ค่าประกันชดเชยก่อนฟ้องและหลังฟ้อง ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 โดยผ่อนชำระค่างวด ปีที่ 1 - 2 มากกว่าร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยประจำเดือน และปีที่ 3 - 5 มากกว่าร้อยละ 50 ของดอกเบี้ยประจำเดือน

ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564


6. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
  1. ด้านสินเชื่อ สำหรับผู้ประกอบการเริ่มต้นธุรกิจส่งออก สามารถยื่นขอสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นเวลา 3 เดือน วงเงินสินเชื่อสูงสุด 1 ล้านบาทต่อราย และสำหรับผู้ประกอบการ SMEs สามารถยื่นขอสินเชื่อ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดร้อยละ 4 ต่อปี สำหรับ 1 ปีแรก วงเงินสินเชื่อสูงสุด 8 ล้านบาทต่อราย
  2. ด้านรับประกันการส่งออก สำหรับผู้เอาประกันรายใหม่จำนวน 100 รายแรก จะได้รับฟรีค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อ ธนาคารผู้ซื้อ และผู้ซื้อสินค้า 1 ราย และสำหรับผู้เอาประกันรายเดิม จะได้รับส่วนลดค่าวิเคราะห์ข้อมูลผู้ซื้อ ธนาคารผู้ซื้อ และผู้ซื้อสินค้า 2 ราย เหลือร้อยละ 50

ทั้งนี้ ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2564


7. โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) สำหรับลูกค้าที่ขอใช้บริการสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล จะได้รับฟรีค่าธรรมเนียมนิติกรรมสัญญาและค่าประเมินหลักประกัน และสำหรับลูกค้าทั่วไป ธอท. จะให้อัตรากำไรพิเศษในช่วงเดือนมกราคม 2564 โดยระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2563 – 31 มกราคม 2564


8. โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2

ภาครัฐจะร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไปร้อยละ 50 แต่ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวันเช่นเดียวกับโครงการคนละครึ่ง โดยโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 นี้ แบ่งกลุ่มผู้ใช้สิทธิเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย

  1. ผู้ได้รับสิทธิเดิมตามโครงการคนละครึ่ง ไม่เกิน 10 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐเพิ่มเติมคนละ 500 บาท ในวันที่ 1 มกราคม 2564 ซึ่งเมื่อรวมกับวงเงินตามสิทธิที่มีอยู่เดิม 3,000 บาท เท่ากับจะมีวงเงินรวม 3,500 บาท สามารถใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564
  2. ผู้ลงทะเบียนใหม่ ไม่เกิน 5 ล้านคน จะได้รับสิทธิวงเงินสนับสนุนจากรัฐคนละ 3,500 บาท สำหรับใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2564

9. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2

ภาครัฐช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าบริโภคอุปโภคที่จำเป็นจากร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นให้แก่กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2564


10. การขยายระยะเวลามาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เพื่อการอบรมสัมมนาภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2564 เป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง


11. โครงการกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัสของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัย จัดทำกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่มปีใหม่ 10 บาท นิวนอร์มอลพลัส ที่ให้ความคุ้มครองทั้งอุบัติเหตุและโรค COVID-19 ในคราวเดียวกัน ระยะเวลาคุ้มครอง 30 วัน อัตราเบี้ยประกันภัย 10 บาท/ราย (ผู้ประกอบการสามารถซื้อเพื่อมอบความคุ้มครองให้กับพนักงาน และลูกค้าของตนได้ และสำหรับบุคคลทั่วไปสามารถรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป) ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง สูงสุดถึง 100,000 บาท และคุ้มครองกรณีโรค COVID-19 แบบ “เจอ-จ่าย-จบ” 3,000 บาท

ทั้งนี้ สามารถซื้อกรมธรรม์ได้โดยตรงกับบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 - 31 มกราคม 2564


12. มาตรการเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่จากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามีมาตรการเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระทางการเงิน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564 ดังนี้

  • มาตรการลดเบี้ยปรับ อัตราร้อยละ 100 สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ชำระหนี้ปิดบัญชี
  • มาตรการลดเบี้ยปรับอัตราร้อยละ 80 สำหรับผู้กู้ยืมเงินกลุ่มก่อนฟ้องคดีที่มาชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ)
  • มาตรการลดอัตราการคิดเบี้ยปรับจากเดิมอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเหลืออัตราร้อยละ 0.5 ต่อปี สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีและไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด และ
  • เพิ่มอัตราการลดเงินต้นจากเดิมร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 กรณีชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้มาชำระหนี้คืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

13. โครงการของขวัญปีใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จัดทำไมโครไซต์ Start to Grow (www.sec.or.th/starttogrow) เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลและความรู้ ที่จำเป็นในการระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผู้ประกอบการใหม่ (Start-Up) และประชาชนที่สนใจ ซึ่งรวมถึงวิธีการสำรวจความพร้อมและรูปแบบการระดมทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจของตน ขั้นตอนและช่องทางติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระดมทุน ข่าวสารกิจกรรมการให้ความรู้ และช่องทางการขอรับคำปรึกษาฟรีผ่านคลินิกระดมทุน โดยเปิดใช้งานไมโครไซต์ดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2563


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
  • ข้อ 1 ติดต่อธนาคารออมสิน โทร. 02 299 8000 หรือ 1115
  • ข้อ 2 ติดต่อธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โทร. 02 555 0555 หรือ 1593
  • ข้อ 3 ติดต่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 02 645 9000
  • ข้อ 4 ติดต่อธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โทร. 02 265 3000 หรือ 1357
  • ข้อ 5 ติดต่อบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โทร. 02 890 9999
  • ข้อ 6 ติดต่อธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย โทร. 02 271 3700
  • ข้อ 7 ติดต่อธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 02 650 6999 หรือ 1302
  • ข้อ 8 ติดต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509
  • ข้อ 9 ติดต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3514 3513 3697
  • ข้อ 10 ติดต่อสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3512 3509 3529 3525
  • ข้อ 11 ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย โทร. 02 515 3999 หรือ 1186
  • ข้อ 12 ติดต่อกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โทร. 02 016 4888 กด 9
  • ข้อ 13 ติดต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โทร. 02 033 9999 หรือ 1207 ดูน้อยลง

ขอบคุณที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น